คู่มือแนวปฏิบัติการจัดประชุมวิชาการและงานแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับมุสลิม

Page 1

คู่มือแนวปฏิบัติการจัดประชุมวิชาการ และงานแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับมุสลิม โดย ฝ่ายพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมไมซ์ สำ�นักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) ร่วมกับ สถาบันฮาลาล และคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


คู่มือแนวปฏิบัติการจัดประชุมวิชาการและงานแสดงสินค้า ที่เป็นมิตรกับมุสลิม

โดย ฝ่ายพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมไมซ์ สำ�นักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) ร่วมกับ สถาบันฮาลาล และคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

2

แนวปฏิบัติการจัดประชุมวิชาการและงานแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับมุสลิม


คำ�นำ�

สำ�นักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน.ร่วมกับสถาบันฮาลาล และคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ดำ�เนินโครงการพัฒนาแนวปฏิบตั กิ ารจัดประชุมวิชาการและงานแสดงสินค้าทีเ่ ป็น มิตรกับมุสลิม เพือ่ พัฒนาคูม่ อื และยกระดับการให้บริการปฏิบตั กิ ารจัดประชุมวิชาการ และงานแสดงสินค้าทีเ่ ป็นมิตรกับมุสลิมให้ได้มาตรฐานในระดับสากล ไม่วา่ จะเป็น เรือ่ งแนวทางปฏิบตั ติ ามหลักศาสนา การเลือกใช้สถานทีก่ ารจัดงาน และแนวทาง การปฏิบัติเบื้องต้นด้านเกี่ยวกับการจัดงานอย่างยั่งยืน ทั้งนี้คู่มือแนวปฏิบัติการจัดประชุมวิชาการและงานแสดงสินค้าที่เป็น มิตรกับมุสลิมดังกล่าว จะสามารถนำ�ไปปฏิบัติใช้ได้ในการจัดงานทุกประเภท เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพในการบริการ และศึกษาแนวทางในการรับรอง มาตรฐานในอนาคตต่อไป แนวทางการดำ�เนินโครงการพัฒนาแนวปฏิบัติการจัดประชุมวิชาการ และงานแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับมุสลิมดำ�เนินการโดยกระบวนการการวิจัย เก็บข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ ทัง้ การศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ผเู้ กีย่ วข้อง ทั้งผู้ให้บริการ และผู้ใช้บริการ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อให้ได้ข้อมูล ที่ถูกต้องสำ�หรับเป็นแนวทางปฏิบัติ โดยคณะทำ�งาน ได้รบั ความร่วมมือเป็นอย่างดี จากหน่วยงานที่มีบทบาทเกี่ยวกับอุตสาหกรรมไมซ์ทั้งภาครัฐและเอกชน สำ�นักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) สถาบั น ฮาลาล และคณะวิ ท ยาการจั ด การ มหาวิ ท ยาลั ย สงขลานคริ น ทร์ จึงขอขอบคุณคณะทำ�งานทุกภาคส่วนที่มีส่วนร่วมอย่างสำ�คัญในการพัฒนา แนวปฏิบตั กิ ารจัดประชุมวิชาการและงานแสดงสินค้าทีเ่ ป็นมิตรกับมุสลิม จนสำ�เร็จ ตามวัตถุประสงค์ มา ณ โอกาสนี้ สำ�นักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) และ สถาบันฮาลาล และคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 25 กรกฎาคม 2562 แนวปฏิบัติการจัดประชุมวิชาการและงานแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับมุสลิม

3


สารบัญ คำ�นำ� สารบัญ เกี่ยวกับ สสปน.(TCEB) เกี่ยวกับสถาบันฮาลาล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วัตถุประสงค์ กระบวนการพัฒนาคู่มือแนวปฏิบัติการจัดประชุมวิชาการ และงานแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับมุสลิม บทที่ 1 คู่มือแนวปฏิบัติการจัดประชุมวิชาการ และงานแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับมุสลิม บทที่ 2 สถานที่การจัดงานที่ได้มาตรฐานสถานที่การจัดงานประเทศไทย บทที่ 3 แนวทางปฏิบัติเบื้องต้นสำ�หรับการจัดงานอย่างยืน ภาคผนวก 1. คำ�นิยามและความหมาย 2. กิจกรรมการประชุมคณะทำ�งาน(ร่าง) คู่มือแนวปฏิบัติการจัดประชุม วิชาการและงานแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับมุสลิม 3. กิจกรรมการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างสำ�นักงาน สง่ เสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ(องค์การมหาชน) กับมหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ 4. รายชื่อคณะผู้จัดทำ�

4

แนวปฏิบัติการจัดประชุมวิชาการและงานแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับมุสลิม

3 4 5 7 10 11 17 26 29 33 34 35 36

37


เกี่ยวกับ สสปน. (TCEB)

สำ�นักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน. ( Thailand Convention and Exhibition Bureau TCEB ) เป็นหน่วยงานภาครัฐสำ�คัญ ที ่ ม ี บ ทบาทหลั ก และเป็ น กุ ญ แจสู ่ ค วามสำ � เร็ จ ของการจั ด งานกิ จ กรรมทางธุ ร กิ จ ต่ า งๆ (Business Event) ทัง้ ระดับโลกและระดับภูมภิ าคนับแต่ปพี .ศ. 2547 ภายใต้แผนยุทธศาสตร์หลัก ที ่ ม ุ ่ ง ขั บ เคลื ่ อ นการเติบ โตของอุต สาหกรรมไมซ์ไ ทย “Growth Driver” สสปน.ทำ � งาน ในฐานะทีเ่ ป็นพันธมิตรทางธุรกิจ พร้อมด้วยความคิดสร้างสรรค์และความร่วมมือจากบุคลากร ที่เชี่ยวชาญและศูนย์ข้อมูลครบวงจร ซึ่งพร้อมอำ�นวยความสะดวกการจัดงานในทุกระดับ ให้เป็นตามความต้องการของผู้จัดงาน สสปน. ได้ประสานความร่วมมือและสร้างเครือข่าย ที่หลากหลาย เพื่อเปิดมิติและโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ และเพื่อเสริมสร้างความสำ�เร็จทางธุรกิจ ซึ่ง จะนำ�ไปสู่ความก้าวหน้าและการบรรลุเป้าหมายระยะยาวตลอดไป พันธกิจของ สสปน. คือพัฒนาอุตสาหกรรมการจัดงานกิจกรรมทางธุรกิจอย่างต่อเนือ่ ง ผลักดันให้อุตสาหกรรมเติบโตระยะยาวและประสบความสำ�เร็จอย่างยั่งยืนทั้งในระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับโลก เป้าหมายหลักของ สสปน. • ดึงงานเข้าประเทศ (WIN) : ดึงงานระดับนานาชาติ ส่งเสริมยกระดับงานในประเทศ ขยายตลาดไปยังตลาดเป้าหมายใหม่ • ประชาสัมพันธ์ (PROMOTE) : ประชาสัมพันธ์ให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทาง สำ�หรับการจัดงานไมซ์ โดย “เป็นตัวเลือกแรก” ในเอเชีย • พัฒนา (DEVELOP) : พัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมไมซ์ ยกระดับขีดความสามารถ ของบุคลากร สร้างบุคลากรมืออาชีพ สร้างมาตรฐานให้อุตสาหกรรม พร้อมผลักดัน ให้ผปู้ ระกอบการ และผูจ้ ดั งานผ่านการรับรองมาตรฐานด้านการจัดงานอย่างยัง่ ยืน แนวปฏิบัติการจัดประชุมวิชาการและงานแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับมุสลิม

5


เกี่ยวกับ MICE Capabilities

ฝ่ายพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมไมซ์ (MICE Capabilities Department) ฝ่ายพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมไมซ์มีความมุ่งมั่นในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับ อุตสาหกรรมไมซ์ไทย ด้วยการพัฒนาการจัดการองค์ความรู้และเนื้อหาสาระ ระบบเครือข่าย และกลยุทธ์ทางการตลาด โดยมีเป้าหมายสำ�คัญ คือ การผลิตบุคลากรมืออาชีพทีผ่ า่ นการฝึกฝน มาอย่างดี และสามารถให้บริการในระดับมาตรฐานสากล พันธกิจหลักของฝ่าย • รับผิดชอบดูแลส่วนกลยุทธ์ดา้ นการพัฒนา (Develop) ทัง้ หมดของอุตสาหกรรมไมซ์ • จัดทำ�แผนแม่บทการพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมไมซ์ของไทย ทัง้ ระยะสัน้ และยาว • กำ�หนดกลยุทธ์ที่สำ�คัญอันนำ�ไปสู่ความสำ�เร็จ ภารกิจหลักของฝ่าย • ผลักดันส่งเสริมและกำ�กับคุณภาพการให้บริการของผูป้ ระกอบการในอุตสาหกรรมไมซ์ • ยกระดับศักยภาพ และความแข็งแกร่งของบุคลากร และองค์กรไมซ์ผ่านหลักสูตร ฝึกอบรมและกิจกรรม การเรียนรู้ระดับนานาชาติ • สร้างเครือข่ายผู้ประกอบการทั้งระดับชาติและระดับสากล • จัดทำ�หลักสูตรไมซ์มาตรฐานสากลสำ�หรับสถาบันอุดมศึกษาเพือ่ สร้างประชากรไมซ์ ที่มีคุณภาพและมีความเป็นมืออาชีพอย่างต่อเนื่อง • ส่งเสริมและผลักดันแนวคิดการจัดงานแบบอนุรักษ์ธรรมชาติ และการจัดงาน แบบยั่งยืน (Sustainability)

6

แนวปฏิบัติการจัดประชุมวิชาการและงานแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับมุสลิม


เกี่ยวกับ สถาบันฮาลาล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สถาบันฮาลาล เป็นหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อผลักดันให้ เกิดการขยายตัวของธุรกิจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหาร สินค้าและบริการตาม มาตรฐานฮาลาล ด้วยกระบวนการวิจัย พัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและธุรกิจ การผลิตอุตสาหกรรมฮาลาล ช่วยส่งเสริมให้เกิดความพร้อมแบบครบวงจร ในด้านอุตสาหกรรมฮาลาล รวมทั้งการพัฒนาความรู้ด้านมาตรฐานฮาลาลที่เกี่ยวข้องกับอาหาร และผลิตภัณฑ์ รวมถึง ระบบโลจิสติกของผลิตภัณฑ์ฮาลาล และการให้บริการตามมาตรฐานฮาลาลในอุตสาหกรรม การท่องเทีย่ ว ภัตตาคาร โรงแรม และโรงพยาบาล ส่งเสริมการใช้กระบวนการพัฒนาระบบคลัสเตอร์ ในการส่ ง เสริ ม การพั ฒ นาระบบอุ ต สาหกรรมฮาลาลไปสู ่ เ ป้ า หมายเชิ ง ธุ ร กิ จ มากยิ ่ ง ขึ ้ น เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ ส่งเสริมภาวะเศรษฐกิจของชุมชนให้ดียิ่งขึ้น และสามารถช่วยพัฒนาพืน้ ทีจ่ งั หวัดชายแดนภาคใต้ให้มกี ารขยายตัวด้านอุตสาหกรรมการท่องเทีย่ ว การศึกษาและสภาพชุมชนเจริญยิ่งขึ้น ซึ่งช่วยให้ประชาชนมีงานทำ�และมีรายได้สูงขึ้น รวมทั้ง ส่งเสริมความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในโลกมุสลิมที่มีต่อผลิตภัณฑ์อาหาร สินค้าและบริการ ตามมาตรฐานฮาลาล และการให้การรับรองมาตรฐานฮาลาลของไทย นอกจากนี้เพื่อรองรับ เศรษฐกิจอาเซียนและตลาดฮาลาลทั่วโลก ปี 2562 การพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาล จำ�เป็นต้อง คำ�นึงถึงการพัฒนาทีม่ คี วามร่วมมือกับต่างประเทศและนำ�ข้อมูลความต้องการของตลาดอาเซียน มาพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาลในประเทศไทยให้มศี กั ยภาพเข้มแข็งพร้อมแข่งขันในตลาดการค้า เศรษฐกิจเสรีอาเซียนมากยิ่งขึ้น ปรัชญา (Philosophy) คือ พัฒนาความรู้ด้านฮาลาล ชี้นำ�เศรษฐกิจและสังคมไทยให้เข้มแข็ง สู่ภูมิภาคเอเชีย วิสยั ทัศน์ (Vision) คือ เป็นศูนย์กลางการศึกษาและพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตสินค้าและบริการ

แนวปฏิบัติการจัดประชุมวิชาการและงานแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับมุสลิม

7


ฮาลาลในเอเชีย (ภายในปี 2026) พันธกิจ (Mission) คือ พัฒนาการศึกษาด้านฮาลาลให้เป็นสากลเชื่อมโยงและขับเคลื่อน ยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษา และอุตสาหกรรมผลิตสินค้าและบริการฮาลาลของประเทศ มุง่ เน้นหลักสูตรและองค์ความรูใ้ นระดับนานาชาติสง่ เสริมการวิจยั และพัฒนาการผลิต การตลาด การส่งออก สินค้าและบริการฮาลาลทุกระดับ ทัง้ ระดับวิสาหกิจชุมชน จนถึงระดับอุตสาหกรรม ขนาดใหญ่ พัฒนาบุคลากรและปัจจัยการผลิตสินค้าและบริการฮาลาลอย่างครบวงจร โดยดำ�เนินการ ในรูปคลังความรู้ และเป็นแหล่งผู้เชี่ยวชาญทางฮาลาล ส่งเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งใน และต่างประเทศส่งเสริมระบบการรับรองมาตรฐานฮาลาล ของประเทศไทยให้ได้รบั ความเชือ่ ถือในระดับภูมภิ าคเอเชีย และได้รบั การยอมรับระดับสากล วัตถุประสงค์ของสถาบันฮาลาล 1. ส่งเสริมการศึกษาและงานวิจัยฮาลาลของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ให้เป็นที่ ยอมรับในภูมิภาคเอเชีย 2. พัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตและบริการฮาลาลให้สามารถแข่งขันทั้งภายในและ ต่างประเทศ 3. ส่งเสริมและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมผลิตสินค้า และบริการฮาลาลของประเทศ 4. เป็นแหล่งวิชาการและเผยแพร่ความรู้และเทคโนโลยีด้านฮาลาล ในภูมิภาคเอเชีย 5. พัฒนาบุคลากรเข้าสู่อุตสาหกรรมการผลิตและบริการตามมาตรฐานฮาลาลใน ระดับภูมิภาคเอเชีย กลุ่มเป้าหมาย (Target Group) - เครือข่ายวิจัย คณะวิชาที่เกี่ยวข้องกับฮาลาล ในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ สถาบันการศึกษาอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชีย - หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ประชาชน ตลาดที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการ ฮาลาลทั้งในและต่างประเทศ - ผู้ประกอบการผลิตและบริการตามมาตรฐานฮาลาล

8

แนวปฏิบัติการจัดประชุมวิชาการและงานแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับมุสลิม


ด้วยเจตนารมณ์อนั แน่วแน่ของสถาบันฮาลาล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ทตี่ อ้ งการ เป็นแหล่งวิชาการ และความรู้เกี่ยวกับฮาลาลในด้านต่างๆ อาทิ อาหาร เครื่องสำ�อาง เครื่องแต่งกาย การเงินและการธนาคาร โรงพยาบาลฮาลาล สปาและการท่องเที่ยวฮาลาล เพื่อนำ�ไปพัฒนาในการประกอบอาชีพของประชาชน ในจังหวัดภาคใต้และนำ�ไปใช้ประโยชน์ ต่อการดำ�รงชีวติ อันจะเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวติ ของประชาชนในภาคใต้ได้พฒ ั นาอุตสาหกรรม การผลิตและบริการฮาลาลให้สามารถแข่งขันทั้งภายในและต่างประเทศต่อไปได้ในอนาคต

แนวปฏิบัติการจัดประชุมวิชาการและงานแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับมุสลิม

9


วัตถุประสงค์

คู่มือแนวปฏิบัติการจัดประชุมวิชาการและงานแสดงสินค้าที่ เป็นมิตรกับมุสลิม

สำ�นักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน. ร่วมกับ สถาบันฮาลาล และคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ด�ำ เนินโครงการพัฒนา แนวปฏิบตั กิ ารจัดประชุมวิชาการและงานแสดงสินค้าทีเ่ ป็นมิตรกับมุสลิมขึน้ โดยมีวตั ถุประสงค์ สำ�คัญ ดังนี้ 1.1 เพือ่ ให้ผใู้ ห้บริการ และผูใ้ ช้บริการให้เข้าใจแนวปฏิบตั กิ ารจัดประชุมวิชาการ และ งานแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับมุสลิม อย่างถูกต้องตามหลักศาสนา 1.2 เพื่อใช้เป็นแนวทางสำ�หรับการส่งเสริมให้ความรู้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง เข้าใจ การจัดประชุมวิชาการและงานแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับมุสลิม 1.3 เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและขยายฐานกลุ่มลูกค้าในอุตสาหกรรมไมซ์ให้แก่ ผู้บริโภค หรือผู้ใช้บริการด้านการจัดประชุมวิชาการและงานแสดงสินค้า ที่เป็นมิตรกับมุสลิม 1.4 เพื่อสร้างความร่วมมือกันทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคการ ศึกษาให้เข้าใจถึงความจำ�เป็น ในแนวทางปฏิบัติการจัดประชุมวิชาการ และงานแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับมุสลิม ตามหลักศาสนาและ แนวทาง การปฏิบัติเบื้องต้นสำ�หรับการจัดงานอย่างยั่งยืนได้อย่างถูกต้อง

10

แนวปฏิบัติการจัดประชุมวิชาการและงานแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับมุสลิม


กระบวนการการพัฒนา

คู่มือแนวปฏิบัติการจัดประชุมวิชาการและงานแสดงสินค้า ที่เป็นมิตรกับมุสลิม

กระบวนการการพัฒนาคู่มือแนวปฏิบัติการจัดประชุมวิชาการและงานแสดงสินค้า ที่เป็นมิตรกับมุสลิม มีขั้นตอน วิธีดำ�เนินการและกิจกรรม ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 : รวมรวมข้อมูล วิเคราะห์เนื้อหา คู่มือแนวปฏิบัติการจัดประชุมวิชาการและ งานแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับมุสลิม โดย 1) รวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลทั้งผู้ให้บริการ อาทิ สถานทีก่ ารจัดงาน ผูใ้ ช้บริการ อาทิ ผู้ใช้บริการ ด้านการจัดงาน การบริการอาหาร เครื่องดื่ม ผู้ประกอบการ นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เชี่ยวชาญ จากสมาคมที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เป็นต้น โดยศึกษาหาข้อมูล พร้อมการสัมภาษณ์เชิงลึก 2) วิเคราะห์ข้อมูลจากผลการศึกษาข้อมูล และจากการสัมภาษณ์ ขั้นตอนที่ 2 : ยก (ร่าง) คู่มือแนวปฏิบัติการจัดประชุมวิชาการและงานแสดงสินค้าที่เป็นมิตร กับมุสลิม โดยมีกระบวนการดังนี้ 1) ทบทวนเนื้อหาเพื่อให้ครอบคลุมทุกส่วน 2) นำ�เสนอคณะทำ�งานพิจารณา ยก (ร่าง) คูม่ อื แนวปฏิบตั กิ ารจัดประชุมวิชาการและ งานแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับมุสลิม ขั้นตอนที่ 3 : ประชุมระดมความคิดเห็น เรื่องยก (ร่าง) คู่มือแนวปฏิบัติการจัดประชุมวิชาการ และงานแสดงสินค้าทีเ่ ป็นมิตรกับมุสลิม วันที่ 25 กรกฎาคม 2562 ในระหว่างการจัดงานแสดง สินค้าและการประชุมสัมมนานานาชาติด้านฮาลาล 2562 (World HAPEX 2019) โดย 1) เรียนเชิญ ทั้งผู้ให้บริการ อาทิ สถานที่การจัดงาน ผู้ใช้บริการ อาทิ ผู้ใช้บริการ ด้านการจัดงาน การบริการอาหาร เครือ่ งดืม่ ผูป้ ระกอบการ นักวิชาการ ผูท้ รงคุณวุฒิ แนวปฏิบัติการจัดประชุมวิชาการและงานแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับมุสลิม

11


และผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ร่วมระดมความคิดเห็น เรื่องยก (ร่าง) “คู่มือแนวปฏิบัติการจัดประชุมและงานแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับมุสลิม” 2) สรุปเนือ้ หาจากการระดมความคิดเห็นจากการประชุมเรือ่ งยก (ร่าง) “คูม่ อื แนวปฏิบตั ิ การจัดประชุมวิชาการและงานแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับมุสลิม”

ขัน้ ตอนที่ 4 : ประชุมจัดตัง้ คณะทำ�งาน เพือ่ สรุป ยก(ร่าง) คูม่ อื แนวปฏิบตั กิ ารจัดประชุมวิชาการ และงานแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับมุสลิมรอบสุดท้าย เพื่อพิจารณาเนื้อหาให้ครบถ้วนเพื่อตอบ โจทย์ความต้องการในการจัดทำ�คู่มือฉบับสมบูรณ์ต่อไป ขั้นตอนที่ 5 : จัดทำ�คู่มือแนวปฏิบัติการจัดประชุมและงานแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับมุสลิม เพื่อนำ�ไปเผยแพร่ต่อไปทั้งรูปแบบ Online และ Offline ขั ้ น ตอนที ่ 6 : ติ ด ตามและประเมิ น ผลการใช้ ค ู ่ ม ื อ แนวปฏิ บ ั ต ิ ก ารจั ด ประชุ ม วิ ช าการ และงานแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับมุสลิม

12

แนวปฏิบัติการจัดประชุมวิชาการและงานแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับมุสลิม


กระบวนการตรวจประเมิน รับใบสมัครและตรวจสอบเอกสารประกอบการสมัคร นัดวันตรวจประเมิน ส่งกำ�หนดการตรวจและจดหมายแจ้งการตรวจประเมิน ดำ�เนินการตรวจประเมิน ณ สถานประกอบการ ชี้แจงประเด็นการตรวจประเมินให้กับผู้แทนสถานประกอบการ นำ�เสนอผลการตรวจประเมินให้กับคณะกรรมการเพื่อให้การรับรอง ขั้นตอนการดำ�เนินงาน 1. รับสมัครสถานประกอบการเข้าร่วมอบรมเชิงปฎิบัติการ 2. คัดเลือกสถานประกอบการ 3. ฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการ 4. จัดทำ�ใบประกาศนียบัตรสำ�หรับผู้เข้าร่วมอบรม 5. รับสมัครและตัดเลือกเพื่อรับการตรวจประเมิน 6. ตรวจประเมิน 7.ประชุมคณะกรรมการฯ เพื่อพิจารณาให้การรับรอง 8. จัดทำ�ใบรับรอง TMVS 9. จดทำ� Directory

แนวปฏิบัติการจัดประชุมวิชาการและงานแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับมุสลิม

13


ความหมาย ลักษณะ และแนวคิดของอุตสาหกรรมไมซ์ บทบาทและความสำ�คัญของ การประชุม การเดินทางเพื่อเป็นรางวัล การประชุมนานาชาติและงานแสดงสินค้านานาชาติทั้ง ระดับชาติและนานาชาติ องค์ประกอบและ ความเชื่อมโยงกันขององค์ประกอบต่างๆ บทบาท ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและพันธมิตร ไมซ์ (อังกฤษ: MICE) ย่อมาจากคำ�ในภาษาอังกฤษว่า (Meetings, Incentive Travel, Conventions, Exhibitions หรือบางครัง้ C หมายถึง Conferencing และ E หมายถึง Events) หมายถึง ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการจัดประชุมบริษัทข้ามชาติ การเดินทางเพื่อเป็นรางวัล การประชุมนานาชาติ การจัดนิทรรศการ และการจัดกิจกรรมพิเศษ ไมซ์เป็นส่วนหนึ่งของ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว แต่มีความแตกต่างจากนักท่องเที่ยวหรืออุตสาหกรรมท่องเที่ยวทั่วไป วัตถุประสงค์ของการเดินทาง นักเดินทางกลุ่มไมซ์ จะมีวัตถุประสงค์หลักในการเดินทางที่เฉพาะเจาะจง เกี่ยวเนื่อง กับการเดินทางเพื่อร่วมประชุมบริษัท การท่องเที่ยวจากรางวัลที่ได้รับ การเข้าร่วมงานประชุม นานาชาติ หรือการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าหรือนิทรรศการนานาชาติ คุณภาพของนักธุรกิจไมซ์ อุตสาหกรรมไมซ์สามารถนำ�นักธุรกิจชาวต่างประเทศทีม่ คี ณ ุ ภาพ (Quality Visitors) ซึ่งนักธุรกิจชาวต่างประเทศกลุ่มนี้ มีระดับการใช้จ่ายสูงกว่านักท่องเที่ยวทั่วไป 3 - 4 เท่า ภาคธุรกิจ / อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง อุตสาหกรรมไมซ์ มีภาคธุรกิจ / อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องแตกต่างกับอุตสาหกรรม ท่องเที่ยว เช่น ผู้จัดงานประชุม ผู้จัดงานนิทรรศการ สถานที่จัดประชุม ศูนย์แสดงสินค้าและ นิทรรศการ เป็นต้น ประโยชน์ของอุตสาหกรรมไมซ์ในประเทศไทย ธุรกิจไมซ์เป็นธุรกิจทีม่ กี ารขยายตัวของปริมาณนักธุรกิจและมูลค่าของธุรกิจ เป็นอย่างสูง และจัดได้วา่ เป็นธุรกิจทีเ่ ป็นพลวัตรสูงมากๆ ในปัจจุบนั ดูจากสถิตกิ ารรายงานของสำ�นักงานส่ง เสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) 14

แนวปฏิบัติการจัดประชุมวิชาการและงานแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับมุสลิม


แนวปฏิบัติการจัดประชุมวิชาการและงานแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับมุสลิม

15


คู่มือแนวปฎิบัติ

การจัดประชุมวิชาการและงานแสดงสินค้า ที่เป็นมิตรกับมุสลิม

คู่มือแนวปฏิบัติการจัดประชุมวิชาการและงานแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับมุสลิมฉบับนี้ ประกอบด้วยเนื้อหา 3 บท ซึ่งผู้จัดงานสามารถแยกเนื้อหาแต่ละบทเพื่อนำ�ไปประยุกต์ใช้ได้ อย่างไรก็ตามเนื้อหาสาระทั้ง 3 บทนี้ มีความเชื่อมโยงและเกี่ยวเนื่องกัน คณะทำ�งานจึงขอ แนะนำ�ให้ผู้วางแผนงานและผู้จัดงานทำ�ความเข้าใจและศึกษาเนื้อหาคู่มือแนวปฏิบัติการจัด ประชุมวิชาการและงานแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับมุสลิมเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด บทที่ 1 คูม่ อื แนวปฏิบตั กิ ารจัดประชุมวิชาการและงานแสดงสินค้าทีเ่ ป็นมิตรกับมุสลิม บทที่ 2 สถานที่การจัดงานที่ได้มาตรฐานสถานที่การจัดงานประเทศไทย บทที่ 3 แนวทางปฏิบัติเบื้องต้น สำ�หรับการจัดงานอย่างยั่งยืน

16

แนวปฏิบัติการจัดประชุมวิชาการและงานแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับมุสลิม


บทที่ 1 คู่มือแนวปฏิบัติการจัดประชุมวิชาการและ งานแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับมุสลิม

ปัจจุบันอุตสาหกรรมไมซ์ (MICE Industry) ในประเทศไทย เป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่ มีทิศทางการเติบโตที่ดี และมีการแข่งขันเพิ่มสูงขึ้นในทุกๆ ปี โดยมีการจัดประชุมวิชาการและ งานแสดงสินค้าซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยสำ�คัญในการดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างๆ ให้มาเข้าร่วมใน กิจกรรมไมซ์ในประเทศไทย ในปัจจุบนั นักท่องเทีย่ วมุสลิมก็เป็นอีกหนึง่ ปัจจัยทีม่ คี วามสำ�คัญต่อ อุตสาหกรรมไมซ์ ซึง่ เห็นได้จากปริมาณนักท่องเทีย่ วมุสลิมทีม่ จี �ำ นวนเพิม่ การขึน้ ทุกๆ ปี ทีม่ าเข้า ร่วมงานประชุมวิชาการและงานแสดงสินค้าที่จัดขึ้นในประเทศไทย นักท่องเที่ยวหรือบุคคลทั่วๆ ไปเมื่อเดินทางไปร่วมงานประชุมวิชาการและงานแสดง สินค้าที่จัดขึ้นยังที่ต่างๆนั้น ย่อมต้องการสิ่งต่างๆ ที่เป็นความจำ�เป็นขั้นพื้นฐานเพื่อนำ�มา ตอบสนองความต้องการ และเพือ่ ให้เกิดความสะดวกสบายของตนเอง ไม่วา่ จะเป็นอาหาร เครือ่ งดืม่ การบริการและสิ่งอำ�นวยความสะดวกต่างๆ ส่วนนักท่องเที่ยวมุสลิมนั้น เมื่อเดินทางไปร่วม งานประชุมวิชาการและงานแสดงสินค้ายังทีต่ า่ งๆ สิง่ หลักๆ ทีเ่ ป็นความต้องการของมุสลิม ได้แก่ ความสะดวกในด้านการบริโภคอาหารฮาลาลและการปฏิบัติศาสนกิจ ถ้าไม่มีสิ่งเหล่านี้การเข้า ร่วมงานประชุมวิชาการและงานแสดงสินค้าก็คงจะไม่ราบรื่นและไม่ประทับใจ ดังนั้นจะต้องมี สิ่งต่างๆ เพื่ออำ�นวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวมุสลิม สถานการณ์ทางธุรกิจของศูนย์ประชุมและศูนย์แสดงสินค้า เป็นธุรกิจทีม่ ศี กั ยภาพและ ยังสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนือ่ ง อย่างไรก็ตามองค์ความรูท้ กี่ ล่าวถึงการจัดประชุมวิชาการและ การจัดงานแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับมุสลิมโดยตรงในประเทศไทยนั้นมีข้อมูลและรายละเอียด ไม่มากนัก

แนวปฏิบัติการจัดประชุมวิชาการและงานแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับมุสลิม

17


องค์ประกอบสำ�หรับการจัดทำ�แนวปฏิบัติการจัดประชุมวิชาการ และงานแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับมุสลิมมีดังนี้ องค์ประกอบ 1.1 ห้องละหมาด

1.2 สถานทีอ่ าบน�ำ้ ละหมาด

18

ประกอบด้วย - เป็นห้องที่มีความเหมาะสมสำ�หรับปฏิบัติศาสนกิจ โดยเฉพาะ - มกี ารแยกโซนชายและหญิงชัดเจนเป็นสัดส่วนชัดเจน - เป็นห้องที่เงียบสงบ ปลอดจากเสียงรบกวนต่างๆ มีการทำ�ความสะอาดสม่ำ�เสมอ เข้าถึงง่ายและมีป้าย แสดงบอกชัดเจน - มีสิ่งอำ�นวยความสะดวกที ่เหมาะสมและเพียงพอ สำ�หรับชายและหญิง เช่น ผ้าละหมาด พรมละหมาด เป็นต้น - มีสัญลักษณ์ทิศกิบลัต (ทิศกิบลัต คือ ชุมทิศที่มุสลิม หัน หน้าไปเวลาละหมาด) ติ ด ไว้ ใ นจุ ด ที ่ ส ามารถ มองเห็นได้ชัดเจน - มีปฏิทินเวลาละหมาดติดไว้ในห้องละหมาด - ไม่มีรูปภาพสิ่งมีชีวิต ติดไว้ในห้อง - เป็นสถานที่เฉพาะสำ�หรับการอาบน้ำ�ละหมาด และ มีการแยกโซนชายและหญิงชัดเจน - เป็นสถานที่ที่อยู่ใกล้กับห้องละหมาด หรืออยู่ภายใน บริเวณห้องละหมาด - มีการทำ�ความสะอาดสม่ำ�เสมอ

แนวปฏิบัติการจัดประชุมวิชาการและงานแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับมุสลิม


องค์ประกอบ

ประกอบด้วย

1.3 การจัดเตรียมและ การให้บริการอาหารและ เครื่องดื่มฮาลาล

- มีครัวฮาลาลสำ�หรับบริการอาหารและเครื่องดื่มหรือ มีการนำ�อาหารฮาลาลจากที่อื่นมาให้บริการ - สามารถจัดอาหารฮาลาลหรือปรับเปลี่ยนเมนูตาม ความต้องการของผู้จัดการจัดประชุมหรือแสดงสินค้า - เตรียม ชุดชา กาแฟ และอาหารตามความเหมาะสม - มีน�้ำ ดืม่ สะอาดใช้ได้ส�ำ หรับผูเ้ ข้าร่วมการประชุมเข้าร่วม งานแสดงสินค้า - พนั ก งานบริ ก ารมี ค วามรู ้ ด ้ า นฮาลาลและได้ ร ั บ การฝึกฝนมาเป็นอย่างดี - พนักงานบริการมีความจริงใจในการให้บริการอาหาร และเครื่องดื่มฮาลาล

1.4 พื้นที่บริการอาหาร มื้อหลัก

- มีโต๊ะเก้าอี้ และอุปกรณ์ สำ�หรับรับประทานอาหารที่ เพียงพอต่อจำ�นวนผู้เข้าประชุมและอยู่ในสภาพพร้อม ใช้งาน - มีการแยกโต๊ะรับประทานอาหารระหว่างชายและหญิง - มีการติดป้าย “อาหารฮาลาล” ไว้บนโต๊ะ แต่ไม่ควร ติดป้ายคำ�ว่า อาหารอิสลาม อาหารมุสลิม มุสลิมทาน ได้หรือ ไม่มีหมู - พนั ก งานหรื อ เจ้ า หน้ า ที ่ ท ี ่ ใ ห้ บ ริ ก ารอาหารต้ อ งมี ความรู้ความเข้าใจเรื่องฮาลาล - อาหารมื้อหลักที่นำ�มาบริการต้องเป็นอาหารฮาลาลที่ ถูก หลัก ศาสนา ไม่ใช่ อ าหารทั ่ ว ไปแล้ ว บอกว่ า เป็ น อาหารฮาลาล ในกรณีที่ให้บริการอาหารแบบบุฟเฟต์ ควรแยกโซนอาหารฮาลาลไว้บริการอย่างชัดเจน

แนวปฏิบัติการจัดประชุมวิชาการและงานแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับมุสลิม

19


20

องค์ประกอบ

ประกอบด้วย

1.5 พื้นที่บริการอาหาร ว่างและเครื่องดื่ม

- มีโต๊ะหรือทีว่ างอาหารว่างและเครือ่ งดืม่ พร้อมอุปกรณ์ อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน มีความสะอาด ปราศจาก ฝุ่นละออง คราบสกปรกและกลิ่นไม่พึงประสงค์ - มีโต๊ะเก้าอี้ ทีเ่ พียงพอต่อจำ�นวนผูเ้ ข้าร่วมประชุมและ แสดงสินค้า ไม่สมควรที่จะยืนรับประทาน - มีกระดาษเช็ดมือและน้ำ�ดื่มให้บริการ - มีถังขยะที่อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน - มปี า้ ยระบุชดั เจนว่า “อาหารว่างและเครือ่ งดืม่ ฮาลาล”

1.6 ห้องสุขา

- มีการจัดเตรียมห้องน้ำ�ที่มีจำ�นวนเหมาะสมต่อชาย และหญิง - ในห้องน้ำ�และโถปัสสาวะชายต้องมีสายฉีดชำ�ระ - มีสิ่งอำ�นวยความสะดวกที่เพียงพอ มีกระดาษชำ�ระ สบู่เหลวและอื่นๆ - มีการทำ�ความสะอาดห้องน้ำ�อย่างสม่ำ�เสมอ - มกี ารออกแบบห้องน�ำ้ ทีเ่ หมาะสมสำ�หรับผูห้ ญิงมุสลิม - มีการจัดเตรียมสิ่งอำ�นวยความสะดวกแก่คนพิการ และผู้สูงอายุอย่างเพียงพอ

1.7 การบริการอื่นๆ

- การจัดประชุมในช่วงเดือนรอมฎอน (เดือนแห่งการถือศีลอด) - มีการจัดอาหารไว้ต่างหากเพื่อแจกให้กับผู้เข้าร่วม ประชุม/ร่วมงานที่เป็นมุสลิมนำ�กลับไปรับประทาน ละศีลอดทีบ่ า้ น เช่น อินทผลัม น�ำ้ ดืม่ ขนมหวาน เป็นต้น - มีการจัดอาหารซะโฮรให้บริการ - มีการบริหารจัดการเวลาช่วงพักกลางวัน เนื่องจาก

แนวปฏิบัติการจัดประชุมวิชาการและงานแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับมุสลิม


องค์ประกอบ

ประกอบด้วย มุสลิมต้องทำ�การละหมาดวันศุกร์ร่วมกัน - จัดเตรียมสถานที่ไว้สำ�หรับการละหมาดในวันศุกร์ ร่วมกัน

1.8 เจ้าหน้าที่/พนักงาน ให้บริการ

- พนักงานแต่งกายชุดยูนิฟอร์มที่มีระเบียบเรียบร้อย เหมาะสม - มีความเป็นมิตร และมีความกระตือรือร้น ในการให้ บริการ - มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกิจกรรมการจัดประชุม และงานแสดงสินค้า - มีความรู้ความเข้าใจเรื่องหลักการฮาลาล - มคี วามตระหนักและเคารพต่อความแตกต่างของเชือ้ ชาติ ศาสนา วัฒนธรรม และสื่อสารได้หลายภาษา - พนักงานสามารถรับผิดชอบการเตรียมของอาหาร สำ�หรับความต้องการที่แตกต่างกันของผู้เข้าร่วมการ ประชุมและแสดงสินค้า

แนวปฏิบัติการจัดประชุมวิชาการและงานแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับมุสลิม

21


ตัวอย่าง

ตัวอย่างภาพแสดงสถานที่ที่จัดเตรียมจุดบริการ ทางศาสนาและเป็นมิตรกับมุสลิม

ภาพที่ 1 : ห้องละหมาดปฏิบัติศาสนกิจ

22

แนวปฏิบัติการจัดประชุมวิชาการและงานแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับมุสลิม


ภาพที่ 2 : ทิศกิบลัตเป็นชุมทิศที่มุสลิมหันหน้าไปเวลาละหมาด

ภาพที่ 3 : สถานที่อาบน้ำ�ละหมาดที่สะอาด

แนวปฏิบัติการจัดประชุมวิชาการและงานแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับมุสลิม

23


ภาพที่ 4 : การจัดเตรียมและการให้บริการอาหารและเครื่องดื่มฮาลาล

ภาพที่ 5 : พื้นที่บริการอาหารมื้อหลัก

ภาพที่ 6 : พื้นที่บริการอาหารว่างและเครื่องดื่ม

24

แนวปฏิบัติการจัดประชุมวิชาการและงานแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับมุสลิม


ตัวอย่างที่ 7 : ห้องสุขาที่สะอาดและมีสายชีดชำ�ระ

ภาพที่ 8 : การบริการอาหารในเดือนรอมฎอน เช่น มีอินทผลัม น้ำ�ดื่ม ขนมหวาน

ภาพที่ 9 : สถานที่ละหมาดในวันศุกร์ที่สะอาดและเหมาะสม

แนวปฏิบัติการจัดประชุมวิชาการและงานแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับมุสลิม

25


บทที่ 2 สถานที่การจัดงานที่ได้มาตรฐานสถานที่ การจัดงานประเทศไทย

Thailand MICE Venue Standard : TMVS สัญลักษณ์รับรองมาตรฐานสถานที่จัดงานในประเทศไทย

Thailand MICE Venue Standards หรือ TMVS คือ ตราสัญลักษณ์ที่ใช้รับรอง มาตรฐานของสถานที่จัดงานประเทศไทย โดยสำ�นักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ (TCEB) เป็นผู้ริเริ่มความคิดและพัฒนาแผนการดำ�เนินงาน เป็นครั้งแรกในประเทศไทย และเป็นประเทศแรกในอาเซียน ตราสัญลักษณ์ดังกล่าวใช้ยืนยัน ว่ า สถานที ่ จั ด งานศู น ย์ ก ารประชุม อาคารแสดงสิน ค้า โรงแรม รี ส อร์ ท สถานที ่ ร าชการ และเอกชน มี ค วามเหมาะสมตามมาตรฐานการจั ด งานในระดั บ สากล เพิ ่ ม ความมั ่ น ใจ ในคุณภาพของผู้ประกอบธุรกิจ MICE ในไทยให้กับกลุ่มนักธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ สำ�นักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน. ประสบความสำ �เร็ จในการดำ�เนิน โครงการพัฒนามาตรฐานสถานที ่ จ ั ด งานประเทศไทย เพือ่ พัฒนาและยกระดับผูป้ ระกอบการด้านสถานทีจ่ ดั งานให้ได้มาตรฐานสากล ได้ให้ความสำ�คัญ ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพของสถานที่และการบริการ รวมถึงความใส่ใจในการจัดงาน อย่างยั่งยืน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และชุมชนใกล้เคียงโดยรอบด้วย นโยบายและการดำ�เนินงานอย่างต่อเนือ่ งของ สสปน. ดังกล่าว ส่งผลให้เกิดมาตรฐาน สถานที่จัดงานประเทศไทย (Thailand MICE Venue Standard : TMVS) ครั้งแรกเมื่อปี 2556 จากนั้นได้ดำ�เนินการพัฒนามาตรฐานให้ครอบคลุมและรองรับการจัดงานในอุตสาหกรรมไมซ์ 26

แนวปฏิบัติการจัดประชุมวิชาการและงานแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับมุสลิม


ได้ แ ก่ มาตรฐานสถานที ่ จ ั ด งาน ประเภทห้ อ งประชุ ม (Meeting Room) ประเภท สถานที่จัดงานแสดงสินค้า (Exhibition Venue) และ ประเภทสถานที่จัดกิจกรรมพิเศษ (Special Event Venue) ตามลำ�ดับ ซึ่งความสำ�เร็จในการบุกเบิกการพัฒนามาตรฐาน สถานที่จัดงานประเทศไทยครั้งนี้ กล่าวได้ว่า ประเทศไทยเป็นผู้นำ�ด้านการพัฒนามาตรฐาน ในอุตสาหกรรมไมซ์ในกลุ่มประเทศอาเซียนหรือหลายประเทศทั่วโลก การดำ�เนินงานเรือ่ งการจัดทำ�มาตรฐานสถานทีจ่ ดั งานประเทศไทย จึงเป็นยุทธศาสตร์ สำ�คัญทีจ่ ะช่วยส่งเสริมให้เกิดปริมาณและคุณภาพของสถานทีแ่ ละการบริการ รวมถึงการรักษา ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย เพือ่ ให้การดำ�เนินงานแนวปฏิบตั กิ ารจัดประชุมวิชาการและงานแสดงสินค้าทีเ่ ป็นมิตร กั บ มุ ส ลิ ม บรรลุ ว ั ต ถุ ป ระสงค์ในเชิงคุณภาพทั้งด้านการบริ ห าร และสถานที ่ ก ารจั ด งาน คณะทำ�งานจึงขอแนะให้นำ�แนวทางนี้ไปใช้ในการเลือกใช้สถานที่การจัดงานให้ได้มาตรฐาน ต่อไปอย่างยั่งยืน ปัจจุบัน สถานที่การจัดงานที่ได้มาตรฐาน มีจำ�นวนทั้งหมดทั่วประเทศดังนี้

แนวปฏิบัติการจัดประชุมวิชาการและงานแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับมุสลิม

27


สสปน. ขอแนะนำ�สถานที่การจัดงานที่ได้มาตรฐาน เพื่อเป็นตัวเลือก ในการจัดงานของกลุ่มมุสลิม

Link Download

https://drive.google.com/drive/folders/10T4BxcBbQlFEMvB07sxdm8LJ8_t8jGeU ข้อมูลอ้างอิงจาก : ฝ่ายพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมไมซ์ สำ�นักงานส่งเสริมการจัดประชุม และนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน.

28

แนวปฏิบัติการจัดประชุมวิชาการและงานแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับมุสลิม


บทที่ 3 แนวทางปฏิบัติเบื้องต้น สำ�หรับการจัดงานอย่างยั่งยืน

สำ�นักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน. ตอบสนองต่อกระแสขับเคลื่อนของโลกด้านความยั่งยืน โดยการผลักดันอุตสาหกรรมไมซ์ ให้ ม ี ก ารพั ฒ นาที ่ ส อดคล้ อ งกั บ เป้ า หมายการพั ฒ นาที ่ ย ั ่ ง ยื น ขององค์ ก รสหประชาชาติ (UN’s Sustainable Development Goals: SDGs) และมุ่งมั่นสู่วิสัยทัศน์ของประเทศไทย ตามนโยบายรั ฐ บาล “ประเทศไทย 4.0” สสปน. ได้ ว างกลยุ ท ธ์ ใ นการส่ ง เสริ ม และ พัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมไมซ์ โดยใช้แนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน ผ่านกระบวนการ ให้องค์ความรู้ กลยุทธ์ทางการตลาด และมาตรฐานต่างๆทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ สสปน. ได้จัดทำ� “แนวทางปฏิบัติเบื้องต้นสำ�หรับการจัดงานอย่างยั่งยืน” ฉบับนี้ขึ้น เพือ่ ให้ผทู้ มี่ คี วามประสงค์จะจัดงานโดยคำ�นึงถึงสิง่ แวดล้อม สังคมและเศรษฐกิจ สามารถใช้เป็น แนวปฏิบัติได้อย่างง่าย และสามรถนำ�ไปใช้ได้ในวงกว้าง

แนวปฏิบัติการจัดประชุมวิชาการและงานแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับมุสลิม

29


แนวทางปฏิบัติเบื้องต้นสำ�หรับการจัดงานอย่างยั่งยืน

หัวข้อที่ต้องดำ�เนินการ การสื่อสารและ ประชาสัมพันธ์ก่อนงาน

1

2 3 สถานที่จัดงาน

4

5

การตกแต่งสถานที่และ จัดเตรียมอุปกรณ์ 30

6

ประชาสัมพันธ์การจัดงานผ่านระบบดิจ ิตอลและ ออนไลน์ เช่น Website และระบบลงทะเบียนล่วงหน้า แบบออนไลน์ เปิดให้ลงทะเบียนล่วงหน้าแบบออนไลน์ ประชาสัมพันธ์ปฏิบัติการจัดงานอย่างยั่งยืนเพื่อให้ ผู้เข้าร่วมงานได้เตรียมตัวและมีส่วนร่วม เลือกใช้สถานที่จัดงาน ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการจัดการพลังงาน หรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น ISO20121, ISO14001, ISO50001, Thailand MICE Venue Standard (TMVS), ASEAN MICE Venue Standard (AMVS) เป็นต้น หรือมีนโยบายการ พัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นลายลักษณ์อักษร โดยสามารถ พิจารณาจาก • http://www.micecapabilities.com/ mice/uploads/attachments/MICESus tainability_Suppliers1.pdf •TMVS เลือกสถานที่จัดงานที่ตั้งอยู่ใกล้ หรืออยู่ในระยะทาง ที่เดินเท้าไปได้ถึง ระบบขนส่งสาธารณะ เช่น BTS, MRT, Airport Link เป็นต้น ควบคุมอุณหภูมิภายในห้องจัดงานให้ไม่ต่ำ�กว่า 25 องศาเซลเซียส

แนวปฏิบัติการจัดประชุมวิชาการและงานแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับมุสลิม


7 8 9 อาหาร และเครื่องดื่ม

10

11

12 13 14

15

ลดการใช้อุปกรณ์ตกแต่งให้มีจำ�นวนเท่าที่จำ�เป็น งดใช้ดอกไม้สดและวัสดุจากโฟม เลือกใช้วัสดุแต่งที่สามารถนำ�กลับไปใช้ได้อีก ไม่ใช้ขวดน�ำ้ พลาสติก โดย จัดให้มบี ริการน�ำ้ ดืม่ ใส่ตกู้ ด และ/หรือ เหยือกหรือขวดแก้วใหญ่ หรือแจกขวดน้ำ� ให้ผู้เข้าร่วมงานเพื่อนำ�มาเติมน้ำ�ได้ งดใช้ น ้ ำ � ตาล ครี ม ซอส นม แบบซองหรื อ ใน บรรจุภณ ั ฑ์ยอ่ ย โดยให้ใช้แบบเติมแทน เช่น ใส่โถ เหยือก หรือขวด งดใช้หลอด หากจำ�เป็นให้ใช้หลอดดูดน้ำ�ที่ทำ�จาก วัสดุทดแทนหรือวัสดุธรรมชาติ ทีส่ ามารถย่อยสลายได้ จัดเตรียมอาหารสำ�หรับผู้ร่วมการประชุมในปริมาณ ที่เหมาะสม ไม่มากไป เลือกอาหารและเครื ่องดื ่มประเภทออร์แกนิคใน ท้องถิน่ และไม่ใช้อาหารแช่แข็ง รายการอาหารควรจะ สะท้อนผลผลิตตามฤดูกาลของท้องถิ่นนั้น บริจาคอาหารเหลือที่ยังรับประทานได้กับองค์กรที่ ไม่แสวงหากำ�ไร หัวข้อที่ต้องดำ�เนินการ

ระบบลงทะเบียน

16

17

ใช้ระบบลงทะเบียนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งผู้เข้าร่วมงาน สามารถลงทะเบียนส่งแบบฟอร์มและรูปทางอีเมล์ หรือผ่านบริการบนเว็บ (Web Service) และใช้ระบบ ลงทะเบียนแบบไร้กระดาษในวันงาน งดการพิ ม พ์ เ อกสาร หากจำ � เป็ น ควรใช้ ก ระดาษ รีไซเคิลและหมึกธรรมชาติ เท่านัน้ เช่น ใช้ QR Code, Soy Ink หรือ Vegetable Ink เป็นต้น แนวปฏิบัติการจัดประชุมวิชาการและงานแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับมุสลิม

31


การสื่อสารและ 18 เลือกใช้บตั รประจำ�ตัวผูเ้ ข้าร่วมงาน (Participant Badge) ประชาสัมพันธ์ก่อนงาน ที่สามารถนำ�กลับมาใช้ใหม่ และจัดพื้นที่ให้ผู้เข้าร่วม งานคืนบัตรและเอกสารอื่นๆ เพื่อนำ�กลับมาใช้ได้อีก การจัดเตรียมอื่นๆ ที่คำ�นึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ

19 เลือกใช้ของทีร่ ะลึกทีผ่ ลิตโดยชุมชน หรือผลิตจากวัสดุท่ี เป็นมิตรกับสิง่ แวดล้อม 20 แยกประเภทขยะที่ เ กิ ด จากการจั ด งาน โดยแยก ประเภท กระดาษ พลาสติก โลหะ ขยะเปียก 21 ส่งเสริมสถานที่ท่องเที่ยวและสิ่งอำ�นวยความสะดวก ในท้องถิ่นให้ผู้เข้าประชุม ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ต่อ เศรษฐกิ จ ท้ อ งถิ่ น และเป็ น การให้ ค วามรู้ กั บ ผู้ เข้ า ประชุม 22 สนับสนุนให้ผรู้ ว่ มงานเดินทางร่วมกันโดยรถบัส/รถตู้ หรือระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ เพื่อลดการใช้ พลังงานและก๊าซเรือนกระจก 23 เปิดโอกาสให้ช ุมชนมีส ่วนร่วมในการจัดงาน เช่น การจ้างงานชุมชน จัดให้มีพื้นที่ประชาสัมพันธ์สินค้า

การสื่อสารและ ประชาสัมพันธ์หลังงาน

24 จัดทำ�สรุปข้อปฏิบตั ขิ องการจัดงานอย่างยัง่ ยืนทีไ่ ด้ปฏิบตั ิ ในงานนัน้ ๆ 25 ประชาสัมพันธ์ ข้อปฏิบัติ ความสำ�เร็จ และประโยชน์ จากการจั ด งานอย่ า งยั่ ง ยื น ให้ ผู้ ร่ ว มงาน บุ ค คลที่ เกี่ยวข้อง และสาธารณชน

ข้อมูล ณ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2561 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ: ฝ่ายพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมไมซ์ น.ส. ภัทร์ ศาสตร์ขำ�, CEM, CIS, SEP ผู้จัดการอาวุโส Email: pat_s@tceb.or.th โทร:02-694-6000 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ฝ่ายพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมไมซ์ สำ�นักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน. ต่อ 6111 32

แนวปฏิบัติการจัดประชุมวิชาการและงานแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับมุสลิม


ภาคผนวก 1. คำ�นิยามและความหมาย 2. กิ จกรรมการประชุม คณะทำ�งาน(ร่าง) คู่ม ือแนวปฏิ บั ต ิ ก ารจั ด ประชุ มวิ ช าการและ งานแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับมุสลิม 3. กิจกรรมการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างสำ�นักงานส่งเสริมการจัดประชุม และนิทรรศการ(องค์การมหาชน) กับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 4. รายชื่อคณะผู้จัดทำ�

แนวปฏิบัติการจัดประชุมวิชาการและงานแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับมุสลิม

33


1. คำ�นิยามและความหมาย 1.1 ทิศกิบลัต คือ ชุมทิศที่มุสลิมหันหน้าไป เวลาละหมาดหรือประกอบศาสนกิจอื่นๆ ซึ่งอยู่ที่เมือง เมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ทิศกิบลัตนั้นอาจจะอยู่ ทางทิศใดก็ได้ขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศ ทิศกิบลัตของ ประเทศไทยจะอยูท่ างทิศตะวันตกเบนไปทางเฉียงเหนือ

ที่มา http://www.narit.or.th/index.php/ astronomy-article/1924-kiblat-sun

1.2 เวลาละหมาด คือ ช่วงเวลาที่มุสลิมทำ�การละหมาด มีทั้งหมด 5 เวลา ดังนี้ - ละหมาดศุบฮิ (ย่ำ�รุ่ง) ประมาณ ตี 5 - 6 โมงเช้า - ละหมาดซุหฺริ (บ่าย) ประมาณ เที่ยงครึ่ง - บ่าย 3 โมง - ละหมาดอัศริ (เย็น) ประมาณ บ่าย 3 โมงกว่าๆ ถึง 5 โมงเย็น - ละหมาดมัฆริบ (พลบค่ำ�) ประมาณ 6 โมงครึ่ง ถึง ทุ่มกว่า ๆ - ละหมาดอิชาอ์ (กลางคืน) ประมาณ 1 ทุ่มกว่าๆเป็นต้นไป

1.3 เดือนรอมฎอน คือ เดือนที่มุสลิมถือศีลอดทั้งเดือน รอมฎอนเป็นเดือนที่ 9 ตาม ปฏิทินจัทรคติ ซึ่งถือเป็นเดือนที่สำ�คัญที่สุดเดือนหนึ่ง 1.4 การถือศีลอด คือ การงดเว้นจากการกิน การดืม่ การเสพ และการมีความสัมพันธ์ ทางเพศ ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนถึงดวงอาทิตย์ตกตลอดทั้งเดือนรอมฎอน 1.5 อาหารซะโฮร คือ อาหารของผูท้ จี่ ะถือศีลอดช่วงเวลาก่อนย�่ำ รุง่ ในเดือนรอมฎอน ซึ่งเป็นอาหารมื้อเบา ๆ 1.6 อินทผลัม เป็นผลไม้ที่นิยมนำ�มารับประทานในการละศีลอด 1.7 การละหมาดวันศุกร์ เป็นการละหมาดรวมกันของมุสลิมแทนการละหมาดซุหริ ในช่วงเที่ยงของทุกๆ วันศุกร์ โดยทำ�กันเป็นกลุ่มใหญ่

34

แนวปฏิบัติการจัดประชุมวิชาการและงานแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับมุสลิม


2. กิจกรรมการประชุมคณะทำ�งาน(ร่าง) คู่ม ือแนวปฏิบัติการจัดประชุมวิชาการและ งานแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับมุสลิม การประชุ ม คณะทำ � งานยก(ร่ า ง) คู ่ ม ื อ แนวปฏิ บ ั ต ิ ก ารจั ด ประชุ ม วิ ช าการและ งานแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับมุสลิม เพื่อพัฒนาและยกระดับการให้บริการได้มาตรฐาน ใน วันที่ 25 กรกฎาคม 2562 เวลา 08.30 -11.30 น. ณ ห้อง Meeting Room 1 Conference Hall ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิรริ าชสมบัติ ครบ ๖๐ ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อำ�เภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

ภาพบรรยากาศกิจกรรมการประชุมคณะทำ�งาน (ร่าง) คู่มือแนวปฏิบัติการจัดประชุมวิชาการและงานแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับมุสลิม

แนวปฏิบัติการจัดประชุมวิชาการและงานแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับมุสลิม

35


3. กิจกรรมการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเรื่องการดำ�เนินงานพัฒนาแนวปฏิบัติ การจัดประชุมและงานแสดงสินค้าทีเ่ ป็นมิตรกับมุสลิมระหว่างสำ�นักงานส่งเสริมการจัดประชุม และนิทรรศการ(องค์การมหาชน) กับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเรื ่องการดำ�เนินงานพัฒนาแนวปฏิบัติ การจัดประชุมและงานแสดงสินค้าทีเ่ ป็นมิตรกับมุสลิมระหว่างสำ�นักงานส่งเสริมการจัดประชุม และนิทรรศการ(องค์การมหาชน) กับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในวันที่ 25 กรกฎาคม 2562 เวลา 11.45 น. ณ ห้อง Meeting Room 1 Conference Hall ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลอง สิริราชสมบัติ ครบ ๖๐ ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อำ�เภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

ภาพบรรยากาศการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง สำ�นักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ(องค์การมหาชน) กับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

36

แนวปฏิบัติการจัดประชุมวิชาการและงานแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับมุสลิม


4. รายชือ่ คณะทำ�งานคูม่ อื แนวปฏิบตั กิ ารจัดประชุมวิชาการและงานแสดงสินค้าทีเ่ ป็นมิตร กับมุสลิม 1.สถาบันฮาลาล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ - ดร.ธวัช นุ้ยผอม ผู้อำ�นวยการสถาบันฮาลาล - ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พายัพ มาศนิยม รองผู้อำ�นวยการฝ่ายบริหารและพัฒนา - ดร.มักตาร์ แวหะยี รองผู้อำ�นวยการฝ่ายวิชาการและวิจัย - นางสาวมารีนา หมัดอะด้ำ� นักวิชาการศึกษา - นายอาร์ดนัน ยามาย นักวิเทศสัมพันธ์ 2.คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ - ดร.ทรงสิน ธีระพิศุทธิ์ หัวหน้าภาควิชาบริหารธุรกิจ และอาจารย์ประจำ�หลักสูตรไมซ์ - ดร.พัชราภรณ์ บุญเลื่อง อาจารย์ประจำ�หลักสูตรไมซ์ - ดร.วันอามีนา บอสตันอลี ผูช้ ว่ ยคณบดีฝา่ ยพัฒนาองค์กร และอาจารย์ประจำ�หลักสูตรไมซ์ 3.สำ�นักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน. - นางอรชร ว่องพรรณงาม ผู้อำ�นวยการ ฝ่ายพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมไมซ์ - นางสาววนิดา วัลย์จิตรวงศ์ ผู้จัดการอาวุโส ส่วนงานมาตรฐาน - นางสาวสุจินฎา เอี่ยมโอภาส ผู้จัดการ ส่วนงานมาตรฐาน 4.ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้ประกอบการ - รองศาสตราจารย์ ดร.ปกรณ์ ปรียากร ผู้อำ�นวยการสถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย แนวปฏิบัติการจัดประชุมวิชาการและงานแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับมุสลิม

37


- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกิดศิริ เจริญวิศาล คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร - นายสำ�ราญ สอนผึ้ง ผู้อำ�นวยการอาวุโสฝ่ายหน่วยตรวจ สถาบันมาตรฐานไอเอสโอ - นายเอกราช มูเก็ม บรรณาธิการ นิตยสารดิอะลามี่ - นายสมาท เหตุหาก หัวหน้าฝ่ายกิจการฮาลาล สำ�นักงานคณะกรรมการอิสลาม ประจำ�จังหวัดสงขลา - นายศิวัตน์ สุวรรณวงศ์ นายกสมาคมโรงแรมหาดใหญ่-สงขลา - นายอัลเลียส สะอิ ผู้จัดการบริษัทบีบ็อกซ์เอ็กปอร์ท - นายสุภาสน์ พลายสิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท พี.โปรมีเดีย จำ�กัด - นายมนตรี อรุณฤกษ์ โรงแรมสยามเซ็นเตอร์ - นางสาวนุชเนตร กาฬสมุทร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย - นายฤชานนท์ หมัดอะหิน โรงแรมอัลฟาฮัจย์ - นางสาวอัมพิกา ชูแป้น โรงแรมญันนะตีย์ - นางกรรัชนันท์ เรือนเพ็ชร์ โรงแรมเซ็นทาราหาดใหญ่

38

แนวปฏิบัติการจัดประชุมวิชาการและงานแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับมุสลิม


ฝ่ายพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมไมซ์ สำ�นักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) ร่วมกับ สถาบันฮาลาล และคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ แนวปฏิบัติการจัดประชุมวิชาการและงานแสดงสินค้าที่เป็นมิตรกับมุสลิม

39


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.